วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อดอกไม้ ดอกบัวหลวง
ชื่อสามัญ Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ดอกชิงชัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ชื่อดอกไม้ ดอกชิงชัน
ชื่อสามัญ Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง)
ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่ว ไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้
ชื่อดอกไม้ ดอกชิงชัน ชื่อสามัญ Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง) ดู่สะแดน (เหนือ) ลักษณะทั่ว ไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ |
ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อดอกไม้ ดอกลำดวน
ชื่อสามัญ Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ ANNONACEAE
ชื่ออื่น ลำดวน (ภาคกลาง)
หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด ประเทศแถบอินโดจีน
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum hirsutissimum
วงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น -
ลักษณะทั่วไป เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ
ดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อดอกไม้ ดอกประดู่
ชื่อสามัญ Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ดอกบัวแดง
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ชื่อดอกไม้ ดอกบัวแดง
ชื่อสามัญ Water Lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น -
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด -
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)