วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อดอกไม้ ดอกบัวหลวง
ชื่อสามัญ Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ดอกชิงชัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ชื่อดอกไม้ ดอกชิงชัน
ชื่อสามัญ Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง)
ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่ว ไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้
ชื่อดอกไม้ ดอกชิงชัน ชื่อสามัญ Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia oliveri Gamble วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง) ดู่สะแดน (เหนือ) ลักษณะทั่ว ไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ถิ่นกำเนิด ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ |
ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อดอกไม้ ดอกลำดวน
ชื่อสามัญ Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ ANNONACEAE
ชื่ออื่น ลำดวน (ภาคกลาง)
หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด ประเทศแถบอินโดจีน
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum hirsutissimum
วงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น -
ลักษณะทั่วไป เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ
ดอกไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อดอกไม้ ดอกประดู่
ชื่อสามัญ Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ดอกบัวแดง
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ชื่อดอกไม้ ดอกบัวแดง
ชื่อสามัญ Water Lily
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น -
ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด -
ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ดอกช้างน้าว
ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ชื่อดอกไม้ ดอกช้างน้าว
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์ OCHNACEAE
ชื่ออื่น กระแจะ (ระนอง)
กำลังช้างสาร (กลาง)
ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี)
ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์)
แง่ง (บุรีรัมย์)
ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา)
ช้างโน้ม (ตราด)
ช้างโหม (ระยอง)
ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
ตาลเหลือง (เหนือ)
ฝิ่น (ราชบุรี)
โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไป ต้นสูง 3–8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปใบหอก ขอบใบจักถี่ ใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 2–8 ดอก มี 5–10 กลีบ สีเหลืองดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอก เดือนมกราคม–พฤษภาคม ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีดำมัน กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ตัดชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ชื่อดอกไม้ ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ชื่อสามัญ Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria ssp.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ลีลาวดี
จำปาขาว
ลักษณะทั่วไป ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็นช่อช่อละ หลายดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
ดอกไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ)
สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ดอกสาธร
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อดอกไม้ ดอกสาธร
ชื่อสามัญ -
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia leucantha Kurz
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ)
กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์)
กะเชาะ (ภาคกลาง)
ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่)
สาธร (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 18-19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก เปลือกสีเทาเรียบหรือ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบ ย่อยรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิด -
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง
ชื่อดอกไม้ ดอกพะยอม
ชื่อสามัญ Shorea white Meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น กะยอม (เชียงใหม่)
ขะยอม (ลาว)
ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ)
แคน (ลาว)
เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)
พะยอม (ภาคกลาง)
พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี)
ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไป พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิด พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ดอกกระเจียว
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อสามัญ Siam Tulip
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น กาเตียว (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
จวด (ใต้)
อาวแดง (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป กระเจียว เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเริ่มผลิใบและดอก ใบยาวคล้ายใบพาย ออกใบและดอกพร้อมกัน ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ออกดอกพร้อมกัน
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม อากาศชื้นเย็น
ถิ่นกำเนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)